Data analysis คือ การดำเนินการกับข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวม มาทำกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหารูปแบบความสัมพันธ์ของข้อมูลเหล่านั้น หาสิ่งเชื่อมโยงที่เชื่อมข้อมูลเหล่านั้น ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การแยกประเภท การจัดชั้น การสังเขป การหาข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะต่างๆ ของข้อมูล การพิจารณาหาว่าข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้มีความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่นหรือไม่อย่างไร
การวิเคราะห์ เป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง โดยพื้นฐานแล้ว การวิเคราะห์ถือเป็นทักษะที่มนุษย์ฝึกได้
ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ในขั้นแรกจะอยู่ในสภาพที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ยังไม่สามารถทำการหาข้อสรุปของลักษณะต่างๆ ของข้อมูลได้ ข้อมูลที่อยู่ในรูปเช่นนี้มีชื่อเรียกว่า "ข้อมูลดิบ" (Raw data) ดังนั้นเพื่อให้ข้อมูลอยู่ในสภาพพร้อมที่จะสามารถหาข้อสรุปหรือทำการวิเคราะห์โดยวิธีอื่นๆ ได้ จึงอาจดำเนินการสังเขปข้อมูลดิบ หรือจัดข้อมูลดิบทั้งสิ้นให้อยู่ในรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นระเบียบเรียบร้อย และมีขนาดกะทัดรัดสะดวกต่อการดำเนินการเช่นแสดงผลออกมาในรูปแบบรายการ และกราฟรูปแบบต่างๆ
- การสรุปข้อมูล (Summarization of Data)
- การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation)
1. มีจุดประสงค์ที่ชัดเจนและเริ่มต้นจากคำถามที่ถูกต้อง
“คำถามที่ดีจะนำไปสู่คำตอบที่ถูกต้อง” เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเริ่มต้นใช้งานข้อมูล เพราะการจะใช้ข้อมูลที่ดีนั้นต้องตอบให้ได้ว่าจะใช้ข้อมูลเพื่ออะไร ทำไมถึงต้องใช้ ใช้แล้วจะได้คำตอบอะไรกลับมา
2. ใส่ใจตั้งแต่ส่วนที่เล็กที่สุดจนถึงส่วนที่ใหญ่ที่สุด
การจัดการข้อมูลควรพยายามที่จะเข้าถึงและจัดเก็บข้อมูลในส่วนที่ย่อยหรือเล็กที่สุดแต่ในขณะเดียวกันก็สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ใหญ่
3. Connect the dots
ข้อมูลเชิงลึกจริงๆ มักไม่ได้มาจากแหล่งข้อมูลเดียว และย่อมไม่เกิดจากการวิเคราะห์จากมุมเดียว บางครั้งเอาข้อมูลชุดหนึ่งนี้ไปรวมกับข้อมูลอีกชุด จะเกิดข้อมูลชุดใหม่ที่อาจจะมีความเชื่อมโยงใหม่ ได้ Insight ใหม่ๆ
Phone: 063-3176644
Email: info@vrsstudio.com