|
 |
วันมาฆบูชา
ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น 15 ค่ำ เ ดื อ น 3
"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน 3 มาฆบูชานั้น
ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ
เดือน 3 วันมาฆบูชา
จึงตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน
อธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง
วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 4 เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา
คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา
ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต"
และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปฎิโมกข์
แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวัน
วิหารกรุงราชคฤห์เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ
เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
คำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ
"จาตุร" แปลว่า 4 องค์ แปลว่า ส่วน "สันนิบาต" แปลว่า
ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า
"การประชุมด้วยองค์ 4"
กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้
คือ
1. เป็นวันที่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า 1,250
รูปมาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์
โดยมิได้นัดหมาย
2. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"
คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
3. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้
ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์
4. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ
การปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ การทำบุญ
ตักบาตรในตอนเช้า
หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด
ตอนบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืน
จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน
ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ
พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม 3 จบ
จากนั้นกล่าวคำ ถวาย ดอกไม้ธูป
เทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดิน เวียนขวา
ตลอดเวลาให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
จนครบ 3 รอบ
แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัด เตรียมไว้
เป็นอันเสร็จพิธี
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา
1. ทำบุญใส่บาตร
2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม และฟังพระธรรมเทศนา
3. ไปเวียนเทียนที่วัด
4. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
|
|